อิสราเอลมีความต้องการแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก แต่รัฐบาลอิสราเอลอนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างชาติใน 4 สาขาอาชีพเท่านั้น คือ การเกษตร ก่อสร้าง พ่อครัวในร้านอาหาร และดูแลคนชรา/พิการ/ป่วย และมีการกำหนดโควต้าการนำเข้าทุกปีควบคู่ไปกับการมีนโยบาย
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายอย่างที่แสดงว่าความต้องการแรงงานไทยจะไม่ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคเกษตรซึ่งแรงงานไทยยึดครองตำแหน่งงานมากที่สุด เนื่องจากในหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลอิสราเอลได้รักษาโควต้าปีละ 26,000 คน และในปี 2550 ได้เพิ่มโควต้าอีก 3,000 คน เพื่อตอบสนองความต้องการของนายจ้างซึ่งส่วนใหญ่ต้องการจ้างจากประเทศไทย ทั้งนี้เพราะนายจ้างมีความคุ้นเคย พอใจแรงงานไทยในความขยัน ความรับผิดชอบในงาน และสามารถไว้ใจได้ เคยมีแรงงานจีนเข้าไปแย่งตลาดแรงงานเกษตรของแรงงานไทยส่วนนี้ แต่ไม่สามารถแข่งขันกับแรงงานไทยได้ เพราะแรงงานจีนมีชื่อเสียเรื่องหลบหนีนายจ้าง นอกจากนี้มีการนำเข้าแรงงานเนปาลไปทำงานเกษตรในประเทศอิสราเอล โดยเริ่มที่เขตกุชกาติฟ ซึ่งทางการไทยไม่อนุญาตให้จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในเขตดังกล่าว หลังจากมีการถอนตัวจากเขตกุชกาติฟแล้ว แรงงานเนปาลดังกล่าวทำงานภาคเกษตรอยู่ทั่วไปในประเทศอิสราเอล แต่การทำงานไม่เป็นที่พอใจนักของบรรดาของนายจ้าง
ส่วนงานในร้านอาหารต่างชาตินั้น แรงงานไทยยังเป็นที่ต้องการมาก แม้ทางการอิสราเอลลดโควต้าลงทุกปี เนื่องจากต้องการให้แรงงานท้องถิ่นเข้าไปทำงานแทน แต่ยังไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าพ่อครัวคนไทย ไม่ว่าในร้านอาหารไทย จีน หรือญี่ปุ่น ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในประเทศอิสราเอล ดังนั้นแนวโน้มของตลาดแรงงานไทยในร้านอาหารต่าง ๆ ในอิสราเอลจะลดลงตามโควต้าในแต่ละปี
สำหรับงานก่อสร้าง แรงงานไทยไม่สามารถแข่งขันแรงงานจากชาติอื่นได้ เพราะฝีมือ และความสามารถของแรงงานไทยทางด้านการก่อสร้างยังเป็นรองแรงงานจากชาติอื่น ซึ่งทำงานได้รวดเร็วกว่าส่วนงานดูแลคนชรา/คนป่วย/พิการ แรงงานไทยยังเป็นรองชาติอื่นมากในด้านภาษาซึ่งใช้ในการติดต่สื่อสาร ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการทำงาน ตลาดแรงงานไทยใน 2 สาขานี้ในประเทศอิสราเอล จึงมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ยาก
2412